ข้อแนะนำสำหรับผู้มีหนังสือเดินทาง 2 เล่ม 2 สัญชาติ!!!
/ วีซ่า / รับทำวีซ่า / ข้อแนะนำสำหรับผู้มีหนังสือเดินทาง 2 เล่ม 2 สัญชาติ!!!
ในกรณีนี้จะพูดถึง ผู้ที่เดิมเป็นคนไทย มีหนังสือเดินทางไทย แต่ต่อมา ได้มีหนังสือเดินทางของชาติอื่นเพิ่มมาอีกหนึ่งเล่มหรือคนไทยที่เกิดที่ต่างประเทศมีหนังสือเดินทางต่างชาติมาก่อนแล้วมาทำหนังสือเดินทางอีกเล่มเป็นหนังสือเดินทางไทย หรือคนไทยที่ไปอยู่เมืองนอกนานจนพาสไทยหมดอายุ แต่มีพาสใหม่เป็นต่างชาติ ต้องใช้พาสทั้งสองเล่มอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้คุณ
ในกรณีแรกคนไทย ใช้พาสเดิมคือไทย ออกจากประเทศไทย ไปอยู่เมืองนอกนานจนได้หนังสือเดินทางมาอีกเล่มเป็นของประเทศอื่นที่ไม่ใช่ไทย พอกลับเข้ามาประเทศไทย ขอใ้ห้ยื่นพาสไทยเล่มเดิม เพราะในการบันทึกข้อมูลนั้น ในระบบของตม. ข้อมูลการเดินทางของคุณยังเป็นหนังสือเดินทางเล่มนั้น คือมีการเดินทางออก การเดินทางกลับเข้ามา ก็ต้องใช้เล่มเดิม เพี่อให้ข้อมูลการเดินทางมีทั้งไปและกลับ ถือว่าจบการเดินทางใน 1 ครั้ง (คนไทยเริ่มต้นการเดินทางจากการออกนอกประเทศ จบการเดินทางจากการเข้าประเทศ) และในพาสเล่มไทยนั้น ตม.จะประทับตราขาออกไว้ การใช้เล่มเดิมกลับเข้ามาก็จะประทับตราขาเข้า คู่กัน ในกรณีหนังสือเดินทางไทยยังมีอายุอยู่
ในกรณีหนังสือเดินทางไทยหมดอายุแล้ว ถ้าทำใหม่ตั้งแต่อยู่เมืองนอกได้ ให้ทำเลย แต่ถ้าทำไม่ได้ไว้ค่อยกลับมาทำที่เมืองไทยแต่ให้ถือเล่มไทยเล่มนั่นแหละเข้ามาแต่ เจ้าหน้าที่จะแนะนำให้คุณไปทำเล่มใหม่ ในประเทศไทยให้เรียบร้อย ก่อนการเดินทางออกอีกครั้ง เพราะ นี่คือสิทธิของคนไทยที่จะอยู่ในประเทศไทย ให้ใช้ความเป็นคนไทยที่ถือหนังสือเดินทางไทยเข้าออกประเทศทุกครั้ง เพราะคุณจะอยู่ในเมืองไทยได้ไม่จ ำกัดเวลา หากคุณทำตามนี้คือ ออกไทย เข้าไทยแต่พาสหมดอายุ แต่…ไม่อยากทำพาสไทย เพราะเปลืองตังค์ ไม่มีเวลา ฯลฯ เลยอยากจะใช้พาสต่างชาติที่มีใหม่อยู่ในมือ ใช้ออกประเทศไทยเลยได้ไหม ในวันที่คุณจะกลับออกไปต่างประเทศอีกครั้ง ขอบอกว่า ไ่ม่ได้ เพราะ คุณเข้ามาในประเทศในฐานะคนไทย ก็ต้องออกไปแบบคนไทย ตราประทับในพาสไทย ได้จบการเดินทางแล้วคือ มีคู่ ออกและเข้า แต่ในพาสต่างชาติของคุณ ไม่มีข้อมูลเดินทางเข้ามา จะให้มีข้อมูลเดินทางออกไปได้อย่างไร เพราะฉะนั้น อย่าทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก ไปทำพาสไทยเล่มใหม่เถอะคะ เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการเิดินทางในครั้งต่อๆไป
คำถาม แล้วจะมีพาสต่างชาติไปเพื่ออะไร หรือเอามาใช้กับประเทศไทยได้อย่างไร
ตอบ พาสต่างชาติ ขอให้ใช้เมื่อคุณออกมาจากบ้านเขา คุณออกบ้านเขาก็ให้ใช้พาสบ้านเขา พอเข้าบ้านเราก็ใช้พาสบ้านเรา ในการออกประเทศไทยอีกครั้ง พาสต่างชาติของคุณ จะแสดงว่าคุณมีพาสเล่มนี้โดยไม่ต้องใช้วีซ่าในพาสไทยอีกต่อไป ใช้แค่แสดงต่อตม. หรือ เคาท์เตอร์เช็คอิน ว่าคุณเข้าประเทศนั้นๆได้ โดยไม่ต้องขอวีซาเพราะคุณมีพาสของเขาแล้ว เป็นพลเมืองบ้านเขาแล้ว
ส่วน กรณีที่สอง เป็นคนไทยแต่พาสเล่มแรกเป็นพาสต่างชาติ แล้วครั้งแรกที่เข้าเมืองไทยก็ใช้พาสต่างชาติ แต่ในระยะเวลาที่อยู่เมืองไทยคิดไปคิดมาอยากมีพาสไทย เพื่อใช้สิทธิความเป็นคนไทยอยู่ในราชอาณาจักร ก็ไปทำพาสไทยที่กรมการกงสุลที่แจ้งวัฒนะ พอจะออกก็จะใช้พาสไทยออก งานนี้ถือว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ประเด็นคือ ถ้าคุณอยู่ในไทย ตามเวลาที่ได้จากขาเข้า ถ้า ไม่อยู่เกินกำหนด เจ้าหน้าที่อาจจะ เน้น ว่าอาจจะตีให้ (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสารวัตรด้วย) การเดินทางออกครั้งนี้คุณอาจจะคิดว่าแก้ปัญหาได้แล้ว แต่ ย้ำว่า ในการเดินทางกลับมาครั้งหน้า ถ้าคุณจะใช้เล่มต่างชาติเข้าไทย คุณก็จะมีปัญหากับขาเข้า เพราะคุณมีตราประทับขาเข้าค้างไว้ เนื่องจากตราขาออกในการเดินทางครั้งนั้น ไปอยู่ในพาสไทยที่คุณทำในเมืองไทยครั้งก่อน บัตรขาออกก็จะยังติดอยู่ในเล่ม (แม้คุณจะดึงออกเพื่อให้ไม่มีหลักฐาน แต่ตราประทับก็จะค้างไว้เป้นหลักฐาน) เจ้าหน้าที่จะไม่ประทับตราในพาสต่างชาติเล่มนั้นให้คุณ อาจจะประทับตราขาเข้าในพาสไทยที่คุณมีอยู่นั่นแหละ แต่พาสต่างชาติที่คุณมีอยู่จะไม่สามารถใช้เข้าไทยได้อีกเลย ตัวคุณเข้าได้ แต่ก็ต้องใช้พาสไทยที่คุณทำไว้ตอนมาอยู่ในไทยแล้ว (เราเรียกว่าการเลี่ยงบาลี คุณอาจคิดว่าุคุณทำได้ แต่คุณกำลังสร้างปัญหาและเงื่อนไขให้กับตัวเอง ถ้าโดนตม.กักตัวไว้นานเพื่อสอบถามและตรวจสอบข้อมูลก็จงอย่าอารมณ์เสีย และโวยวาย เพราะคุณทำตัวคุณเอง เพราะมันผิดมาตั้งแต่เริ่มแล้ว) แล้วถ้าคุณยังไม่ได้เริ่มมีพาสไทย แต่อยากมีไว้เ้ข้าไทย จะทำยังไง อ่านคำถามต่อไปซิ
คำถาม แล้วถ้าอยากใช้สิทธิความเป็นคนไทยให้ถูกต้อง แต่มีพาสต่างชาติ จะทำอย่างไร
ตอบ ในกรณีนี้ คุณเข้ามาครั้งแรก ในฐานะคนต่างชาติ คุณจะได้รับสิทธิการอาศัยอยู่ในประเทศไทยแบบคนต่างชาติดูได้ในตราประทับขาเข้าว่าเจ้าหน้าที่ไทย ได้ประทับตราให้คุณกี่วัน (ประเทศไม่ need visa หากอยู่ไม่เกิน 30 วัน) ซึ่งหากคุณต้องการใช้ความเป็นคนไทยในการกลับเข้าประเทศ ขอให้คุณไปทำหนังสือเดินทางไทยที่สถานทูตไทยในประเทศที่คุณอยู่ เพราะในหน้ารายละเอียดพาส เค้าจะระบุที่เกิดของคุณ ว่าเป็นต่างประเทศ คุณสามารถใช้เล่มไทยที่ทำจากต่างประเทศกลับเข้ามาในฐานะคนไทยได้เลย โดยเจ้าหน้าที่จะตีตราขาเข้าให้ แต่จะระบุไว้ล่างตราว่า “เด็กเกิดในต่างประเทศ” เพื่อเป็นการเริ่มต้นในการใช้หนังสือเดินทางเล่มนี้ในครั้งต่อๆไป เพื่อเจ้าหน้าที่คนที่ต้องประทับตราคนต่อไปในการตรวจออกประเทศจะได้ไม่สงสัยว่า แล้วตราขาออกครั้งก่อนอยู่ไหน ทำไมถึงมีตราขาเข้าอยู่ตราเดียว ก็จะทำให้เขาเข้าใจว่า คุณคือคนไทยที่ได้พาสไทยมาจากต่างประเทศ ส่วนเล่มต่างชาติ ก็ให้แสดงว่ามีพาสต่างชาตินะ แต่เจ้าหน้าที่จะตีตราขาเข้าให้ในพาสไทย เพราะทราบได้ทันทีว่าคุณเจตนาจะกลับเข้ามาเป็นคนไทย ใช้สิทธิคนไทยเข้าประเทศ
แต่หากคุณอยากใช้พาสต่างชาติ เข้าไทย แม้ว่าจะมีพาสไทยที่ทำจากต่างประเทศ หากอยู่ไม่กี่วัน (ตามสิทธของพาสชาตินั้นๆ ส่วนใหญ่จะ30 วันไม่มีวีซ่า พวกพาสฝรั่ง) ก็ไม่ต้องโชว์ว่ามีพาสไทย เก็บในกระเป๋าไปเลย และห้ามเอาออกมาแสดงตอนขาออก เพราะคุณเข้ามาแบบต่างชาติ ก็ออกไปแบบต่างชาติ (การเดินทางของต่างชาติเริ่มจากการเข้าประเทศ จบโดยการออกประเทศ) แล้วครั้งหน้าถ้าอยากเป็นคนไทย ก็ค่อยแสดงพาสไทยตอนเข้าไทย (ย้ำนะ ว่าต้องเป็นพาสไทยที่จากสถานทูตไทยในต่างประเทศ กรณีคนไทยเกิดต่างประเทศ หรือ คนไทยทำพาสเล่มใหม่ขณะที่ตัวเองยังอยู่ต่างประเทศเนื่องจากพาสหาย หรือพาสหมดอายุ เจ้าหน้าที่ก็จะประทับตราขาเข้า แล้วระบุว่า ตราขาออกอยู่ในเล่มเก่า ..เดี๋ยวจะอธิบายต่อข้างล่าง)
ปัญหาที่มักจะพบเจอ แล้วต้องมาถกเถียงกันเป็นประจำ ของกรณีนี้คือ รู้สิทธิ แต่ไม่รู้หน้าที่ มีพาสต่างชาิติ แต่ใช้ไม่ถูก หรือไม่เป็น แล้วไม่ถาม คือ คุณเป็นคนไทย มีพาสไทย ออกไทยด้วยพาสไทย แต่ไปอยู่เมืองนอก ได้พาสเมืองนอกมา กลับเข้ามา แสดงพาสของเมืองนอก (พาสต่างชาติ) ยืนยันว่าจะใช้พาสต่างชาติเล่มนี้ที่ได้ใหม่ ว่าจะใช้ จะเป็นคนชาตินั้นๆ ไม่เป็นแล้วคนไทย …อืม…ก็ได้ เจ้าหน้าที่จะมีทางเลือกในการพิจารณาอยู่สองทาง คือ หนึ่ง ขอให้คุณแสดงพาสไทย เพื่อให้จบการเดินทาง ประทับตราขาเข้าให้คู่กับขาออก แล้วคุณก็จะได้สิทธิอยู่ไทยแบบไม่จำกัด แม้คุณจะอยู่ไม่กี่วันก็แล้วแต่
สอง หากคุณยืนยันจริ๊งจริง ว่า คุณไม่ใช้คนไทยอีกต่อไป ฉันจะเป็นคนต่างชาติ …อืม …เจ้าหน้าที่จะประทับตราให้คุณ ตามสิทธิพาสต่างชาติที่คุณถือ โดยส่วนใหญ่ที่คุณได้กันมาจะเป็นพาสฝรั่งก็อยู่ในไทยได้ สามสิบวัน โดยไม่ต้องมีวีซ่า ในกรณีนี้ ถือว่า คุณเข้ามาในไทยโดยใช้สิทธิต่างชาติ อยู่ได้ตามที่ตม.กำหนดให้เท่านั้น หากอยู่เกินก็ต้องโดนปรับวันละ 500 บาท แต่ไม่เกิน 20000 บาท โดยที่คุณไม่มีสิทธิมาอ้างว่าคุณเป็นคนไทย เกิดในไทย พูดไทยได้ หน้าไทย พ่อแม่เป็นไทย ขอให้เงียบไปเลยถ้าจะมาเถียงในประเด็นนี้ เพราะคุณใช้สิทธิต่างชาติเข้ามาในไทย ย้ำ ก็ต้องออกไปแบบคนต่างชาติ จะควักพาสไทยมาบังคับให้ตม.ตีออกให้ เราไม่ทำจ๊ะ อีกอย่าง ในกรณีที่ถ้าไม่มีเงินเสียค่าปรับ หรือว่าไม่จ่าย ยังไง๊ยังไงก็ไม่จ่าย เราก็จะยกเลิกการเดินทางออกครั้งนี้ของคุณ พร้อมกับทำการจับกุมคุณส่งฟ้องศาล ให้ศาลเป็นผู้ปรับ แล้วคุณก็ต้องไปยังตม.สวนพลู เพื่อให้สวนฟลูตีตราประทับผลักดันคุณออกนอกประเทศ แล้วค่อยกลับมาเช็คอิน และเข้าตม.เพื่อเดินทางออกอีกครั้ง (เรื่องมันยาว อย่าทำให้เป็นปัญหาจะดีที่สุด แต่ถ้าใครคิดว่าทำแล้วดี ก็ทำ ไม่ว่ากัน)
ส่วนกรณีที่คนไทย ออกไทย ด้วยพาสไทย แต่พาสหมดอายุขณะที่อยู่ต่างประเทศ ถ้าคุณอยู่ต่างประเทศนานแต่สามารถทำพาสใหม่ได้ ก็ทำเลย จะถือพาสเล่มเก่าเดินทางเข้ามาด้วยก็ได้ ถ้าสถานทูตไม่เก็บพาสเก่าไว้ก็ถือมาเลย แล้วเจ้าหน้าที่จะพิจารณาเองว่าจะตีเล่มใหม่หรือเล่มเก่า โดยแนวทาง ถ้ามีพาสเล่มใหม่มา จะประทับตราขาเข้าในเล่มใหม่โดยระบุว่า ตราขาออกอยู่ในเล่มเก่า โดยเจ้าหน้าทีสามารถตรวจสอบได้จากตราประทับขาออกในพาสเก่า หรืออ้างอิงได้จากฐานข้อมูลเดิม เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาใหญ่นัก หากคุณทำตามขั้นตอนนี้ คือ เข้าพาสไทย ออกพาสไทย (ประมาณว่า ทำยังไงก็ได้ขอให้มีพาสไทยกลับเข้าประเทศอีกครั้ง) หากมีปัญหา ก็สามารถถามเจ้าหน้าที่ที่เคาท์เตอร์ได้เลย หรือถ้าเค้าตอบไม่เ้ข้าใจ ก็ถาม supervisor ต่อก็ได้)
เพราะฉะนั้น ขอให้คนไทยทุกคนที่มีพาสต่างชาิติ ทำอะไรให้ง่ายๆ ตามขั้นตอน ใช้สิทธิให้ถูกต้อง ให้ถูกที่ ถูกเวลา คุณก็จะเดินทางได้อย่างไม่มีปัญหา happy, win-win ทั้งตม.และคุณ นะจ๊ะ
ปล. ในการแก้ปัญหาแต่ละครั้งให้กับเคสแบบนี้หรือเคสอื่นๆ ทางตม.มีเจตนาและหวังดีกับคนไทยทุกคนเพื่อให้ทำตามกฎในการมีและใช้ หนังสือเดินทางได้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่แค่ผลดีนั้นจะเกิดขึ้นแต่กับตัวตม.อย่างดียว คุณคือผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงเพราะมันเป็นพาสของคุณ สิทธิของคุณ อยากให้เข้าใจว่า ในการที่คุณเดินทางแต่ละครั้ง หนึ่งตราประทับของเรา คือ ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่คนนั้นๆ ในตัวคุณ การที่เค้าต้องถามละเอียดหรือตรวจสอบข้อมูลหลายๆอย่าง ก่อนจะประทับตราลงไป เค้าต้องคิดดีแล้ว หรือเห็นสมควรแล้วเนื่องจากแต่ละคนจะมีรหัสในตราประทับให้รับผิดชอบ หากเกิดเรื่องอะไรขึ้นมากับพวกคุณ ก็จะเป็นพวกเรานี่แหละ ที่ต้องเขียนรายงานชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งบางเรื่องไม่ใช่ความผิดของเราเลย แต่เกิดจากความไม่รู้ หรือ รู้ไม่จริงของผู้โดยสารบางคน กลับกลายเป็นความผิดของตม.แทน เพราะฉะนั้น ต้องขอความร่วมมือจากทุกท่าน ให้ทำหน้าที่ของตนให้อย่างถูกต้อง เพื่อความสะดวกในการเดินทางแต่ละครั้งของท่าน
แหล่งที่มา : Thai New York FACEBOOK
ติดต่อเรา
Study Square Co.,Ltd. 5 Therd Rachan 1 Lane, Therd Rachan Rd, Srikan, Donmuang, Bangkok, 10210 Thailand
Tell : 089-1261024, 02-9291231 (พี่กฤต)
Email :studysquares@hotmail.com
Face Book : https://www.facebook.com/Studysquare.co.th/,
https://www.facebook.com/sqstudyabroad/
Twitter :https://twitter.com/aittit
Line ID : krittapas_st