จิงโจ้สัตว์ประจำชาติออสเตรเลีย!!!
/ ออสเตรเลีย / จิงโจ้สัตว์ประจำชาติออสเตรเลีย!!!
นักสำรวจชาวตะวันตก ที่เดินทางไปยัง ออสเตรเลีย เพิ่งจะรู้จักจิงโจ้ เมื่อ ๒๐๐ ปีมานี้เอง ประเทศออสเตรเลีย และหมู่เกาะ บริเวณข้างเคียง เป็นดินแดนที่เรา จะพบสัตว์ประเภท มีกระเป๋าหน้าท้อง อยู่มากที่สุด สัตว์ที่มีประเป๋าหน้าท้อง เช่นนี้ มีชื่อทางชีววิทยาว่า “marsupials” ซึ่งมาจากคำว่า “marsupium” ในภาษาละติน แปลว่า “กระเป๋า”
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกแรก ปรากฏขึ้นบนโลกตั้งแต่เมื่อ ๑๐๐ ล้ายปีมาแล้ว นั่นคือยุคไดโนเสาร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนี้ กลุ่มหนึ่งเป็นสัตว์ประเภทมีกระเป๋าหน้าท้อง ซึ่งเป็นที่ที่ลูกจะรับอาหารจากแม่ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นพวกสัตว์ที่มีรก (placental) คือ เลี้ยงลูกภายในครรภ์ ของแม่
เมื่ออุณหภูมิโลก เปลี่ยนแปลงไปในช่วงนั้น ไดโนเสาร์ ก็ล้มหายตายจากไปจนหมด* สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลับเพิ่มจำนวนขึ้นแทนที่ ชจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตผู้ครองโลก แต่สัตว์จำพวกเลี้ยงลูกในครรภ์กลับมีพัฒนาการที่ดีกว่าพวกมีกระเป๋าหน้าท้อง เนื่องจากสมองของมันเหนือชั้นกว่า และเป็นไปได้ว่า ลูกสัตว์ที่เจริญเติบโตอยู่ในท้องแม่นั้น จะมีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่าเจ้าตัวที่เติบโตอยู่ในกระเป๋าหน้าท้อง
สัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง หายสาบสูญไป จากหลายๆ ส่วนของโลก เนื่องจาก ไม่สามารถสู้กับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ได้ แต่เหตุการณ์เช่นนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นใน ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เมื่อก่อนนี้ ออสเตรเลีย เชื่อมต่อกับ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจเป็นในลักษณะของ เกาะที่เรียงต่อกัน หรือไม่ก็แยกจากกันเพียงแค่เป็น คอคอด พวกสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ก็เลยอพยพสู่ทวีป ออสเตรเลีย ซึ่งในขณะนั้น ยังเป็นดินแดนที่ ปลอดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น เมื่อดินแดนส่วนนี้ แยกห่างจากกัน จึงกลายเป็นว่า ออสเตรเลีย มีแต่สัตว์ประเภทนี้อยู่เท่านั้น พวกมันก็เลย สามารถรอดชีวิต และมีวิวัฒนาการมาเรื่อย จนกระทั่งทุกวันนี้ ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมใน ออสเตรเลีย ที่พบในปัจจุบัน สันนิษฐานว่า เป็นสัตว์ที่มนุษย์ นำเข้าไปในภายหลังทั้งสิ้น
สัตว์ประจำชาติของประเทศออส
คำว่า “จิงโจ้” เป็นคำไทยหรือคำต่างประเทศก
แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น หลายท่านรู้ไหมว่า คำว่า “จิงโจ้” นั้น คือ สัตว์ในวรรณคดีชนิดหนึ่งในป
คำว่า “จิงโจ้” มีการหยิบยกมาใช้มากมาย ไม่เว้นกระทั่งท่านหลวงวิจิ
อนึ่ง คำว่า “จิงโจ้” ยังถูกนำมาใช้ในงานประพันธ์