จิงโจ้สัตว์ประจำชาติออสเตรเลีย!!!

http://www.studysqr.com/  / ออสเตรเลีย / จิงโจ้สัตว์ประจำชาติออสเตรเลีย!!!

นักสำรวจชาวตะวันตก ที่เดินทางไปยัง ออสเตรเลีย เพิ่งจะรู้จักจิงโจ้ เมื่อ ๒๐๐ ปีมานี้เอง ประเทศออสเตรเลีย และหมู่เกาะ บริเวณข้างเคียง เป็นดินแดนที่เรา จะพบสัตว์ประเภท มีกระเป๋าหน้าท้อง อยู่มากที่สุด สัตว์ที่มีประเป๋าหน้าท้อง เช่นนี้ มีชื่อทางชีววิทยาว่า “marsupials” ซึ่งมาจากคำว่า “marsupium” ในภาษาละติน แปลว่า “กระเป๋า”

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกแรก ปรากฏขึ้นบนโลกตั้งแต่เมื่อ ๑๐๐ ล้ายปีมาแล้ว นั่นคือยุคไดโนเสาร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนี้ กลุ่มหนึ่งเป็นสัตว์ประเภทมีกระเป๋าหน้าท้อง ซึ่งเป็นที่ที่ลูกจะรับอาหารจากแม่ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นพวกสัตว์ที่มีรก (placental) คือ เลี้ยงลูกภายในครรภ์ ของแม่

เมื่ออุณหภูมิโลก เปลี่ยนแปลงไปในช่วงนั้น ไดโนเสาร์ ก็ล้มหายตายจากไปจนหมด* สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลับเพิ่มจำนวนขึ้นแทนที่ ชจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตผู้ครองโลก แต่สัตว์จำพวกเลี้ยงลูกในครรภ์กลับมีพัฒนาการที่ดีกว่าพวกมีกระเป๋าหน้าท้อง เนื่องจากสมองของมันเหนือชั้นกว่า และเป็นไปได้ว่า ลูกสัตว์ที่เจริญเติบโตอยู่ในท้องแม่นั้น จะมีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่าเจ้าตัวที่เติบโตอยู่ในกระเป๋าหน้าท้อง

สัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง หายสาบสูญไป จากหลายๆ ส่วนของโลก เนื่องจาก ไม่สามารถสู้กับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ได้ แต่เหตุการณ์เช่นนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นใน ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เมื่อก่อนนี้ ออสเตรเลีย เชื่อมต่อกับ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจเป็นในลักษณะของ เกาะที่เรียงต่อกัน หรือไม่ก็แยกจากกันเพียงแค่เป็น คอคอด พวกสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ก็เลยอพยพสู่ทวีป ออสเตรเลีย ซึ่งในขณะนั้น ยังเป็นดินแดนที่ ปลอดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น เมื่อดินแดนส่วนนี้ แยกห่างจากกัน จึงกลายเป็นว่า ออสเตรเลีย มีแต่สัตว์ประเภทนี้อยู่เท่านั้น พวกมันก็เลย สามารถรอดชีวิต และมีวิวัฒนาการมาเรื่อย จนกระทั่งทุกวันนี้ ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมใน ออสเตรเลีย ที่พบในปัจจุบัน สันนิษฐานว่า เป็นสัตว์ที่มนุษย์ นำเข้าไปในภายหลังทั้งสิ้น

สัตว์ประจำชาติของประเทศออสเตรเลียที่คนพื้นเมืองเรียกแกงการูแต่คนไทยเรียก “จิ้งโจ้”

คำว่า “จิงโจ้” เป็นคำไทยหรือคำต่างประเทศกันแน่? ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า “จิงโจ้” นั้นถือได้ว่าเป็นคำไทยแท้ หาได้เป็นคำที่ถูกคิดขึ้นเพื่อใช้เรียกสัตว์ต่างประเทศอย่าง “Kangaroo” อย่างที่คนส่วนใหญ่คิดแต่อย่างใดไม่ กล่าวคือ ตามข้อเท็จจริงแล้วคำว่า “จิงโจ้” นั้นมีการคิดและใช้มาก่อนการใช้เรียกสัตว์ต่างประเทศข้างต้นเสียอีก ดังจะเห็นได้จากการที่คนไทยมีการเรียกแมลงชนิดหนึ่งว่า “จิงโจ้น้ำ” นั่นเอง ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากคำว่า “จิงโจ้” ในภาษาไทยหมายถึง แมลงตัวลีบ ขาหน้าสั้น ขาสองคู่หลังยาว ดังนั้น จึงได้ถูกนำไปใช้เพื่อใช้เรียกสัตว์ต่างประเทศที่พบมากในประเทศออสเตรเลียอย่าง “Kangaroo” ในเวลาต่อมา

แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น หลายท่านรู้ไหมว่า คำว่า “จิงโจ้” นั้น คือ สัตว์ในวรรณคดีชนิดหนึ่งในป่าหิมพานต์คล้ายๆ นกกินรี มาถึงตรงนี้คงทำให้ใครหลายคนประหลาดใจพอสมควร เพราะ “จิงโจ้” เป็นนกชนิดหนึ่งที่มีศีรษะเป็นมนุษย์ มีปีกและขาเป็นนก โดยต่างกับนกกินรีที่มีกายท่อนบนบนเป็นมนุษย์และกายท่อนล่างเป็นนก ใครอยากเห็นภาพของจิงโจ้ก็สามารถที่จะดูได้จากภาพไทยตามผนังของวัดวาอารามต่างๆ ได้

คำว่า “จิงโจ้” มีการหยิบยกมาใช้มากมาย ไม่เว้นกระทั่งท่านหลวงวิจิตรวาทการที่ได้ประพันธ์บทเพลง “จิงโจ้โล้สำเภา” ซึ่งในปัจจุบันก็เป็นบทอาขยานเพื่อให้เด็กประถมได้ท่องจำกัน ผู้ใดอยากเห็นภาพ “จิงโจ้โล้สำเภา” ก็สามารถไปชมได้ที่วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมที่ถูกวาดขึ้นตามจินตนาการจากการพรรณาของบทประพันธ์ของหลวงวิจิตรวาทการข้างต้นนั่นเอง

อนึ่ง คำว่า “จิงโจ้” ยังถูกนำมาใช้ในงานประพันธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ อีกด้วย กล่าวคือ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์โคลงดั้นเรื่อง “โสกันต์” โดยได้มีการกล่าวถึงทหารประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “ทหารจิงโจ้” จนกระทั่งรัชสมัยต่อมา พระบาทสมเด้จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงเรียกทหารหญิงว่า “ทหารจิงโจ้” โดยมีคำสั่งต่อทหารหญิงดังกล่าวที่น่าสนใจ ต่างๆ นาๆ อาทิ คำสั่งให้ทหารหญิงที่ถืออาวุธอยู่ทำความเคารพนั้นจะใช้คำว่า “จิงโจ้กัด” แทนคำว่า “วันทยาวุธ” เป็นต้น

ติดต่อเรา
Study Square Co.,Ltd. 5 Therd Rachan 1 Lane, Therd Rachan Rd, Srikan, Donmuang, Bangkok, 10210 Thailand
Tell : 089-1261024, 02-9291231 (พี่กฤต)
Email :studysquares@hotmail.com
Face Book : https://www.facebook.com/Studysquare.co.th/,
https://www.facebook.com/sqstudyabroad/
 Twitter :https://twitter.com/aittit

Google Plus

Youtube

Line ID : krittapas_st
Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น